Skip to content

การสร้างข้อมูลหลัก (Master Data)

การสร้างรหัสบัญชี (Chart of Account)

Menu: Invoicing > Configuration > Chart of Accounts

  1. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างรหัสบัญชี และกรอกข้อมูลดังนี้

    • (1) Code: รหัสบัญชีที่ต้องการเพิ่มข้อมูล
    • (2) Account Name: ชื่อรหัสบัญชี
    • (3) Type: ประเภทของรหัสบัญชี
    • (4) Allow Reconciliation: ใช้สำหรับการกระทบยอดรหัสบัญชี
  2. หากต้องการตั้งค่าเกี่ยวกับรหัสบัญชีเพิ่มเติมให้คลิกปุ่ม Setup ระบบจะแสดงหน้าต่าง ดังนี้

    • (1) Asset Profile: ใช้สำหรับรหัสบัญชีที่ต้องการผูกกับหมวดหมู่สินทรัพย์
    • (2) Type: ประเภทของรหัสบัญชี
    • (3) Default Taxes: ตั้งค่าเริ่มต้นให้ภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใช้งานรหัสบัญชี
    • (4) Tags: ใช้สำหรับการผูกกับงบกระแสเงินสด
    • (5) Allowed Journals: หากต้องการระบุสมุดบัญชีที่ต้องการใช้งาน
    • (6) Account Currency: หน่วยสกุลเงินที่ใช้สำหรับรหัสบัญชีนี้
    • (7) WHT Account: ใช้เมื่อเป็นรหัสบัญชีที่เกี่ยวข้องกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย
    • (8) Deprecated: ใช้เมื่อต้องการยกเลิกใช้งานรหัสบัญชีนี้แล้ว
    • (9) Allow currency revaluation: สำหรับตั้งค่า Account Code ที่ต้องการปรับปรุงมูลค่า
    • (10) Centralized: ใช้เมื่อต้องการให้บัญชีแยกประเภทแสดงรายละเอียด
  3. เมื่อกรอกและตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว บันทึกข้อมูลโดยคลิกปุ่ม Save แต่หากต้องการยกเลิกการบันทึกข้อมูลรหัสบัญชี สามารถคลิกปุ่ม Discard


การสร้างภาษีมูลค่าเพิ่ม (Taxes)

Menu: Invoicing > Configuration > Taxes

  1. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างภาษีมูลค่าเพิ่ม และกรอกข้อมูลดังนี้

    • (1) Tax Name: ชื่อของภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • (2) Tax Computation: วิธีการคำนวณ ให้เลือกเป็น Percentage of Price
    • (3) Tax Type: ประเภทของภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • (4) Amount: เปอร์เซ็นต์ที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • (5) Distribution for Invoices: ระบุเลขที่บัญชีที่ใช้บันทึกบัญชี
    • (6) Distribution for Credit Notes: ระบุเลขที่บัญชีที่ใช้บันทึกบัญชี
  2. หากต้องการตั้งค่าเพิ่มเติมให้คลิกที่ Advanced Options

    • (1) Included in Price: สำหรับตั้งค่าการคำนวณภาษีมูลค่ารวมอยู่ในราคาต่อหน่วย
    • (2) Tax Exigibility: ให้เลือกเป็น Based on Payment กรณีที่ Tax point เกิดขึ้นเมื่อมีการชำระเงิน
    • (3) Cash Basis: ระบุเลขที่บัญชีที่ใช้บันทึกบัญชี
  3. หากตั้งค่าเรียบร้อยแล้วให้คลิก Save


การสร้างภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax)

Menu: Invoicing > Configuration > Withholding Tax

  1. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างภาษีหัก ณ ที่จ่าย และกรอกข้อมูลดังนี้

    • (1) Name: ชื่อของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
    • (2) Personal Income Tax: ใช้กรณีที่ต้องการหัก ณ ที่จ่ายแบบ PIT
    • (3) Withholding Tax Account: ระบุเลขที่บัญชีที่ใช้บันทึกบัญชี
    • (4) Percent: เปอร์เซ็นต์ที่คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย
    • (5) Default Income Tax Form: ประเภทภงด.
    • (6) Default Type of Income: ประเภทเงินได้
  2. เมื่อกรอกและตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว บันทึกข้อมูลโดยคลิกปุ่ม Save แต่หากต้องการยกเลิกการบันทึกข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถคลิกปุ่ม Discard


การสร้างสมุดบัญชีรายวัน (Journals)

การสร้างสมุดรายวันเพิ่มเติมนอกเหนือจากสมุดรายวันที่มีอยู่ในระบบ จะใช้สำหรับกรณีที่มีการเพิ่มบัญชีธนาคาร

Menu: Invoicing > Configuration > Journals

  1. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างสมุดรายวัน และกรอกข้อมูลดังนี้

    • (1) Journal Name: ชื่อสมุดรายวัน
    • (2) Type: เลือกเป็น Bank
    • (3) Operating Unit: Cost Center
    • (4) Branch: สาขาทางภาษี (ถ้ามี)
    • (5) Bank Account: ระบุเลขที่บัญชีที่ใช้บันทึกบัญชี
    • (6) Suspense Account: บัญชีพัก ใช้ในกรณีโอนเงินระหว่างธนาคาร
    • (7) Profit Account: บัญชีใส่กำไร (ถ้ามี)
    • (8) Loss Account: บัญชีใส่ผลขาดทุน (ถ้ามี)
    • (9) Short Code: รหัสของสมุดรายวัน
    • (10) Currency: สกุลเงินของบัญชี
    • (11) Account Number: เลขที่บัญชีธนาคาร
    • (12) Bank Feeds: การตั้งค่าสกุลไฟล์ในการนำเข้า
  2. กรอกข้อมูลสำหรับบัญชีพักเพิ่มเติมที่ แท็บ Incoming Payments

    • (1) Outstanding Receipts Account: ระบุเลขที่บัญชีสำหรับการบันทึกฝั่งรับ
    • (2) Methods: วิธีการบันทึกรับเงิน
  3. กรอกข้อมูลสำหรับบัญชีพักเพิ่มเติมที่ แท็บ Outgoing Payments

    • (1) Outstanding Payments Account: ระบุเลขที่บัญชีสำหรับการบันทึกฝั่งจ่าย
    • (2) Methods: แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
      • Manual: บัญชีธนาคารออมทรัพย์
      • Checks: บัญชีธนาคารกระแสรายวัน
  4. เมื่อกรอกและตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว บันทึกข้อมูลโดยคลิกปุ่ม Save แต่หากต้องการ ยกเลิกการบันทึกข้อมูลสมุดบัญชีรายวัน สามารถคลิกปุ่ม Discard

การแก้ไขเลขที่เช็ค

สามารถเข้าไปที่สมุดรายวันธนาคาร (Journals) เพื่อให้ระบบรันเลขที่เช็คตามสมุดเช็ค

  1. ค้นหาสมุดรายวันธนาคารที่ต้องการเปลี่ยนเลขที่เช็ค

  2. คลิกที่สมุดรายวันธนาคาร เพื่อเข้าสู่หน้าต่างการแก้ไขเลขที่เช็ค

  3. ระบบจะแสดงหน้าต่างสำหรับการตั้งค่า ให้คลิกปุ่ม Edit
  4. คลิกที่ แท็บ Outgoing Payments เพื่อแก้ไขการรันเลขที่เช็ค
    • (1) Manual Numbering: ใส่เครื่องหมายถูก
    • (2) Next Check Number: ใส่เลขที่เช็คที่ต้องการพิมพ์ครั้งต่อไป
    • (3) Save: บันทึกข้อมูลการแก้ไข
  5. ถ้ายังไม่ได้เพิ่ม Payment Methods Checks ต้องทำการเพิ่มขึ้นมาก่อน ตามวิธีดังนี้

    • (1) คลิกปุ่ม Add a line

    • (2) เลือก Checks แล้ว Manual Numbering จะปรากฎขึ้นมา

หากมีการเพิ่มสมุดรายวันธนาคาร

ให้ทำการเพิ่มการตั้งค่าที่เมนู Settings > Technical > Sequences & Identifiers > Manage Sequence Options เพื่อตั้งค่าการ Running ของเอกสาร ซึ่งสามารถทำได้ตามคู่มือ System Setting Manual


การสร้างประเภทสินทรัพย์ (Asset Profiles)

Menu: Invoicing > Configuration > Asset Profiles

  1. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างประเภทสินทรัพย์และกรอกข้อมูลดังนี้

    • (1) Name: ชื่อของประเภทสินทรัพย์
    • (2) Salvage Value: ราคาซาก
    • (3) Asset Groups: กลุ่มของสินทรัพย์ที่ต้องการผูกในประเภทสินทรัพย์
    • (4) Create an asset by product item: ใช้สำหรับการซื้อสินทรัพย์จำนวนหลายชิ้น ระบบจะแตกบรรทัดตามจำนวน เพื่อนำไปสร้างสินทรัพย์ในทะเบียนสินทรัพย์
    • (5) Transfer Journal: สมุดบัญชีสำหรับการโอนย้ายสินทรัพย์
    • (6) Auto Asset Number by Sequence: สำหรับการออกเลขที่สินทรัพย์ตามประเภท
    • (7) Journal: สมุดบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์
    • (8) Asset Account: เลขที่บัญชีสำหรับการบันทึกสินทรัพย์
    • (9) Depreciation Account: เลขที่บัญชีสำหรับการบันทึกค่าเสื่อมราคาสะสมสินทรัพย์์
    • (10) Depr. Expense Account: เลขที่บัญชีสำหรับการบันทึกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์
    • (11) Plus-Value Account: เลขที่บัญชีสำหรับการบันทึกตัดจำหน่ายสินทรัพย์
    • (12) Min-Value Account: เลขที่บัญชีสำหรับการบันทึกตัดจำหน่ายสินทรัพย์
    • (13) Residual Value Account: เลขที่บัญชีสำหรับการบันทึกตัดจำหน่ายสินทรัพย์
    • (14) Allow Reversal of journal entries:ใช้สำหรับกลับรายการค่าเสื่อมราคา
    • (15) Time Method: วิธีการคิดช่วงเวลาของค่าเสื่อม
      • เลือก Number of Years or end date เป็นการคิดค่าเสื่อมตามจำนวนปีที่เลือก หรือคิดค่าเสื่อมจนถึงวันที่กำหนด (End date)
      • เลือก Number of Depreciations เป็นการคิดค่าเสื่อมตามจำนวนครั้งของการบันทึกค่าเสื่อม
    • (16) Number of years:
      • ถ้าเลือก Time method แบบ Number of years or end date หมายถึงจำนวนปีในการคิดค่าเสื่อม
      • ถ้าเลือก Time method แบบ Number of depreciations หมายถึงจำนวนครั้งของการบันทึกค่าเสื่อม
    • (17) Period Length: ช่วงเวลาในการคิดค่าเสื่อม ให้เลือกเป็น Month เนื่องจากต้องปิดงบการเงินทุกเดือน
    • (18) Calculate by days:ใช้เมื่อต้องการคำนวณค่าเสื่อมตามจำนวนวันในเดือน
    • (19) Computation Method: วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา เลือกเป็น Linear up to Salvage เพื่อคิดค่าเสื่อมแบบเส้นตรง โดยราคามูลค่าคงเหลือสุดท้ายจะเท่ากับราคาซาก
    • (20) Prorata Temporis:
      • ใส่เครื่องหมายถูก หากตัองการให้เริ่มคิดค่าเสื่อมตั้งแต่วันที่ Asset start date
      • ไม่ใส่เครื่องหมายถูก หากต้องการให้เริ่มคิดค่าเสื่อมตั้งแต่วันแรกของปี (โดยปกติเราจะไม่เลือกวิธีนี้ เพราะเป็นการคิดค่าเสื่อมย้อนหลัง)
    • (21) Skip Draft State: ข้ามการสร้างสินทรัพย์ที่สถานะ Draft
  2. เมื่อกรอกและตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว บันทึกข้อมูลโดยคลิกปุ่ม Save แต่หากต้องการยกเลิกการบันทึกข้อมูลประเภทสินทรัพย์สามารถคลิกปุ่ม Discard


การสร้างกลุ่มสินทรัพย์ (Asset Group)

การสร้างกลุ่มสินทรัพย์มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้สำหรับการออกรายงานในทะเบียนสินทรัพย์และจะต้องนำไปผูกไว้กับหมวดหมู่สินทรัพย์ (Asset Profile) โดยมีขั้นตอนการสร้างและแก้ไขดังนี้

Menu: Invoicing > Configuration > Asset Group

  1. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างกลุ่มสินทรัพย์ และกรอกข้อมูลดังนี้

    • (1) Name: ชื่อของกลุ่มสินทรัพย์
    • (2) Code: รหัสของกลุ่มสินทรัพย์
    • (3) Parent Asset Group: ให้เลือกเป็น All Profile
  2. เมื่อกรอกและตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว บันทึกข้อมูลโดยคลิกปุ่ม Save แต่หากต้องการยกเลิกการบันทึกข้อมูลกลุ่มสินทรัพย์สามารถคลิกปุ่ม Discard


การสร้างสถานะย่อยสินทรัพย์ (Asset Sub-Status)

การสร้างสถานะย่อยสินทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้สำหรับการจัดกลุ่มสถานะย่อยของสินทรัพย์โดยมีขั้นตอนการสร้างและแก้ไขดังนี้

Menu: Invoicing > Configuration > Asset Sub-Status

  1. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างสถานะย่อยของสินทรัพย์และกรอกข้อมูลดังนี้

    • (1) Name: ชื่อของกลุ่มสินทรัพย์
    • (2) Note: รหัสของกลุ่มสินทรัพย์
    • (3) Draft: ใช้กับของสินทรัพย์สถานะ Draft
    • (4) Running: ใช้กับของสินทรัพย์สถานะ Running
    • (5) Close: ใช้กับของสินทรัพย์สถานะ Close
    • (6) Removed: ใช้กับของสินทรัพย์สถานะ Removed
  2. เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สามารถบันทึกข้อมูลโดยคลิกปุ่ม Save แต่หากต้องการยกเลิกการบันทึกข้อมูลกลุ่มสินทรัพย์ สามารถคลิกปุ่ม Discard


การสร้างข้อมูลหมวดหมู่ของสินค้า (Product Categories)

Menu: Invoicing > Configuration > Product Categories

  1. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างประเภทสินค้ากรอกข้อมูล ดังนี้

    • (1) Category Name: ชื่อของประเภทสินค้า
    • (2) Parent Category: เลือก Parent (ถ้ามี)
    • (3) Force Removal Strategy: เลือกการจัดการสต๊อก
      • First In First Out (FIFO): การหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน
      • Last In First Out (LIFO): การหยิบสินค้าที่เข้าคลังทีหลังออกไปก่อน
    • (4) Allow Negative Stock: ทำเครื่องหมาย ✔ หากอนุญาตให้สต๊อกติดลบ
    • (5) Costing Method: เลือกวิธีการคำนวณต้นทุน
      • Standard Price: อ้างอิงราคาต้นทุนตามที่ตั้งค่าไว้ในฟิลด์ Cost ของ Product นั้นๆ
      • First In First Out (FIFO): อ้างอิงราคาต้นทุนตามราคาที่ได้จัดซื้อ Product นั้นๆ มาตามลำดับ
      • Average Cost (AVCO): อ้างอิงราคาต้นทุนโดยเฉลี่ย
    • (6) Inventory Valuation: การตีราคาสินค้าคงเหลือ
      • Manual: การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic)
      • Automate: การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual)กรณีเลือก Automate จะต้องทำการกรอกข้อมูลที่หมายเลข (7), (10) - (13) ด้วย
    • (7) Price Difference Account: เลือกบัญชีสำหรับบันทึกส่วนต่างระหว่างราคาขายบน PO กับราคาขายบน Vendor Bill เป็นฟิลด์ที่ใช้บันทึกต้นทุน Convertion Cost
    • (8) Income Account: เลือกบัญชีสำหรับบันทึกรายได้
    • (9) Expense Account: เลือกบัญชีสำหรับบันทึกค่าใช้จ่าย
    • (10) Stock Valuation Account: รหัสบัญชีตอนรับสินค้า สำหรับให้ระบบบันทึกเข้าคลัง
    • (11) Stock Journal: สมุดรายวันการเคลื่อนไหวสินค้า
    • (12) Stock Input Account: บัญชีพักตอนบันทึกรับสินค้า
    • (13) Stock Output Account: บัญชีพักตอนบันทึกส่งออกสินค้า
  2. คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกข้อมูล และสามารถคลิกปุ่ม Edit หากต้องการแก้ไขข้อมูล


การเขียนและแก้ไขรายงาน MIS

Menu: Invoicing > Configuration > MIS Report Template

  1. คลิกปุ่ม Edit หรือเลือกรายงานที่ต้องการแก้ไข เมื่อเข้าสู่หน้าต่างรายงาน ส่วนบนของรายงาน มีความหมายดังนี้

    • (1) Name: ชื่อรายงาน
    • (2) Description: คำอธิบาย
    • (3) Style: รูปแบบการแสดงผล
    • (4) Move Lines Source: รูปแบบการดึงข้อมูล ให้เลือกเป็น Journal Item
  2. หากต้องการเขียนรายงานหรือเพิ่มบรรทัดใหม่ ให้คลิก Add a line

  3. หากต้องการแก้ไขสูตรในรายงาน ให้เลือกบรรทัดที่ต้องการแก้ไข

  4. ระบบจะแสดงหน้าต่างในการเขียนสูตรแต่ละบรรทัด สามารถตรวจสอบข้อมูลสำหรับการเขียนงบการเงินได้จาก แท็บ Expression โดยสัญลักษณ์ต่างๆ มีความหมายดังนี้

    • (1) Description: คำอธิบายที่จะไปแสดงในงบการเงิน
    • (2) Value type: รูปแบบของการแสดงค่าข้อมูล
      • Numeric: ตัวเลข
      • Percentage: เปอร์เซ็นต์
      • String: ตัวอักษร
    • (3) Style: รูปแบบของข้อมูล เช่น ความหนาของตัวเลข และทศนิยมที่ใช้ออกรายงาน
    • (4) Name: ชื่อของบรรทัด
    • (5) Accumulation Method: วิธีการคำนวณ
      • Sum: รวมยอดทั้งหมด
      • Average: ถัวเฉลี่ย
      • None: ไม่ระบุวิธีการคำนวณ
    • (6) Expression: ใช้สำหรับการเขียนสูตรรวมกับรหัสบัญชีที่ต้องการดึงข้อมูล
      • abs(): ให้ค่าที่อยู่ในวงเล็บเป็น + เสมอ
      • bale[]: ยอดคงเหลือปลายงวด
      • bali[]: ยอดคงเหลือต้นงวด
      • balp[]: ยอดเปลี่ยนแปลงระหว่างงวด
      • %: เอาทั้งหมดที่ขึ้นต้นด้วย... เช่น 4% เอาบัญชีทั้งหมดที่เริ่มต้นด้วย 4
      • debp[]: เลือกเฉพาะยอดเปลี่ยนแปลงในงวดฝั่งเดบิต
      • crdp[]: เลือกเฉพาะยอดเปลี่ยนแปลงในงวดฝั่งเครดิต

การสร้างรูปแบบรายงาน MIS

Menu: Invoicing > Configuration > MIS Report Styles

  1. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างเงื่อนไขของรูปแบบรายงาน

    • สามารถตั้งค่าในหัวข้อเกี่ยวกับ Number ได้ดังนี้

      • (1) Style name: ชื่อรูปแบบ
      • (2) Rounding inherit: การแสดงค่าทศนิยม
      • (3) Factor inherit: หน่วยนับ
        • μ : แสดงจำนวนเงินโดยคูณ 1,000,000
        • m : แสดงจำนวนเงินโดยคูณ 1,000
        • 1 : แสดงจำนวนเงินตามจริง
        • k : แสดงจำนวนเงินโดยหาร 1,000
        • M : แสดงจำนวนเงินโดยหาร 1,000,000
      • (4) Prefix Inherit : คำขึ้นต้นจำนวนเงินที่แสดง
      • (5) Suffix Inherit : คำลงท้ายจำนวนเงินที่แสดง
    • สามารถตั้งค่าในหัวข้อเกี่ยวกับ Color ได้ดังนี้

      • Color Inherit : สีตัวอักษร
      • Background Color Inherit : สีพื้นหลัง
    • สามารถตั้งค่าในหัวข้อเกี่ยวกับ Font ได้ดังนี้

      • (1) Font Style Inherit:
        • Normal : ตัวอักษรปกติ
        • Italic : ตัวอักษรเอียง
      • (2) Font Weight Inherit:
        • Normal : ตัวอักษรปกติ
        • Bold : ตัวอักษรหนา
      • (3) Font Size Inherit: ขนาดตัวอักษร
    • สามารถตั้งค่าเกี่ยวกับ Indent Level Inherit เพื่อแสดงขอมูลเป็นลำดับขั้น

    • สามารถตั้งค่าในหัวข้อเกี่ยวกับ Visibility ได้ดังนี้
      • (1) Hide Empty Inherit : ไม่แสดงเมื่อรายการนั้นไม่มีมูลค่า
      • (2) Hide Always Inherit : ไม่แสดงรายการนั้นตลอด
  2. คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึก


End.