Skip to content

กระบวนการรับสินค้าเข้าคลัง (Receipt)

วิธีการรับสินค้าเข้าคลัง

ในการดำเนินงานปกติในส่วนของการรับของจะ API มาจาก WMS หากพนักงาน Warehouse ต้องการรับสินค้าเข้าคลังสินค้าด้วยวิธีการ Manual สามารถดำเนินการได้ ดังนี้

Menu :: Inventory > Overview > Receipt

  1. ในหน้าต่าง Overview หัวข้อ Receipts พนักงานคลังสินค้าสามารถดูได้ว่ามีกี่รายการที่ต้องเข้าไปกดรับสินค้าจากตรง xx to Process โดยสามารถกดเข้าไปดำเนินการได้

    • Waiting: รอดำเนินการ เช่น รายการที่ยังไม่มีของพร้อมส่ง หรือสำหรับรายการ Return Transfer
    • Late: รายการที่ล่าช้า
    • Back Orders: รายการที่ยังส่งไม่หมดและจะทำการจัดส่งภายหลัง

  2. เมื่อกดเข้าไปแล้วระบบจะแสดงรายการทั้งหมดที่รอการรับสินค้า

  3. สามารถเลือกเอกสารที่ต้องการกดรับสินค้า โดยพิมพ์ เลขที่เอกสาร (PO number) ในช่อง search

  4. เมื่อกดแล้วระบบจะแสดงหน้าต่างของเอกสารรับของ โดยสามารถกดปุ่ม Edit เพื่อกรอกข้อมูลด้านล่าง

    1. ข้อมูลส่วน Header (ส่วนบนเอกสาร)

      • Receipt from: แสดงชื่อ Vendor ที่จัดส่งสินค้ามาให้
      • Destination Location: สินค้าที่จัดส่งจะมาเก็บเอาไว้ที่ Location ไหน
      • Created Date: วันที่สร้างเอกสาร
      • Scheduled Date: วันที่รับของ
      • Deadline Date: Deadline ของวันที่รับของ
      • Source Document: แสดงเลขที่เอกสารใบคำสั่งซื้อ (Purchase Order)

    2. Tab Operations

      • Product: แสดงชื่อสินค้าที่ต้องรับ
      • Analytic Account: Financial Dimension (project) ระบบจะส่งข้อมูลมาให้ หากมีการกรอกที่หน้าต่าง Sales Order
      • Analytic Tags: Financial Dimension (product line และ BOI) ระบบจะส่งข้อมูลมาให้ หากมีการกรอกที่หน้าต่าง Sales Order
      • Description: ระบบจะดึงคำอธิบายรายการสินค้ามาให้
      • Lot/Serial Number: สามารถกรอก Serial Number ของสินค้าที่จะทำการรับเข้ามา
        • ระบบจะแสดงหน้าต่างถามว่าต้องการสร้างเลข S/N หรือไม่ กดปุ่ม Create
      • Demand: แสดงจำนวนสินค้าที่ต้องรับทั้งหมดตามคำสั่งซื้อ
      • Done: แสดงจำนวนสินค้าที่ต้องการรับเข้าคลังสินค้า (โดยสามารถแก้ไขจำนวนได้ที่ Detailed Operation)
        • กดปุ่มขีดสามขีดขวามือสุดเพื่อให้ระบบแสดงหน้าต่าง Detailed Operation
    3. tab Detail Operation

      • กด Add a line เพื่อให้ระบบดึงข้อมูลสินค้าจากใน Purchase Order มาให้
      • สามารถกรอกข้อมูลจำนวนที่ต้องการจัดส่งสินค้าในช่อง Done
      • เมื่อใส่ข้อมูลเรียบร้อยให้กดปุ่ม Confirm
    4. tab Additional Info

      • Responsible: เลือกรายชื่อผู้ทำการรับสินค้าเข้าคลังสินค้า
      • จากนั้นกด Save เพื่อบันทึกข้อมูล
      • ซึ่งในขั้นตอนนี้สถานะของเอกสารจะแสดงเป็น Ready
  5. เมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม Validate เพื่อยืนยันการส่งสินค้าให้ลูกค้า

    • หากกดปุ่ม Validate โดยที่ยังไม่ได้ใส่ข้อมูลจำนวนสินค้าที่จะส่งตรงคอลัมน์ Done ระบบจะแสดงหน้าต่างด้านล่างเพื่อให้ผู้ใช้งานยืนยันว่าจะทำการส่งสินค้าทั้งหมดตามจำนวนในคำสั่งขาย ใช่หรือไม่
    • ถ้าใช่กดปุ่ม Apply ถ้าไม่ใช่กดปุ่ม Cancel แล้วใส่ข้อมูลจำนวนสินค้าที่ต้องการส่งตรงคอลัมน์ Done

  6. หลังยืนยันการส่งสินค้าให้ลูกค้าแล้ว สถานะของเอกสารจะเปลี่ยนเป็น Done


การสร้าง Backorder

กรณีรับสินค้าไม่ครบตามจำนวนที่อยู่ในคำสั่งซื้อ (Purchase Order)

ถ้าจำนวนสินค้าที่ได้รับมีน้อยกว่าจำนวนสินค้าที่เปิดคำสั่งซื้อไป ระบบจะแสดงหน้าต่างด้านล่างขึ้นมา

  1. กด Create Backorder ในกรณีที่ต้องการรับสินค้าที่ขาดไปตามทีหลัง
  2. กด No Backorder ในกรณีที่จะรับสินค้าตามจำนวนเท่านี้ ไม่ต้องการรับสินค้าที่ขาดตามทีหลัง

    • ถ้ากดปุ่ม Create Backorder ในหน้าต่าง Purchase Order บริเวณไอคอนรูปรถ (Delivery) จะแสดงตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 2

    • เมื่อกดเข้าไปที่ไอคอนรูปรถ จะเห็นเอกสารใบรับของสำหรับ Backorder เพิ่มขึ้นมา สามารถกดเข้าไปในเอกสารเพื่อดำเนินการส่งของที่ขาดให้กับลูกค้าได้

End.