Skip to content

กระบวนการจบการผลิต

ในการดำเนินงานปกติจะเป็นการส่ง API 2 มาจาก MRP เข้าระบบ Odoo แล้วระบบจะทำกระบวนการต่างๆให้อัตโนมัติ แต่หากต้องการดำเนินการด้วยวิธีการ Manual สามารถดำเนินการได้ ดังนี้

การปิดการผลิต (WIP → FG)

Menu: Manufacturing > Operations > Manufacturing Orders

  1. ค้นหาใบสั่งผลิตที่ต้องการปิดการผลิต

  2. เลือกใบสั่งผลิตที่ต้องการปิดการผลิต

  3. ตรวจสอบข้อมูลใบสั่งผลิต ถ้ายังไม่ถูกต้องให้กดปุ่ม Edit แล้วแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องหลังจากนั้นกด Save แต่ถ้าถูกต้องแล้วให้กด Validate เพื่อปิดการผลิต

  4. ระบบจะเปลี่ยนสถานะใบสั่งผลิตเป็น Done และบันทึกสินค้าสำเร็จรูป (WIP → FG)

ข้อมูลใบสั่งผลิตที่ควรตรวจสอบ

ก่อนทำการปิดใบสั่งผลิต มีข้อมูลที่ควรตรวจสอบ ดังนี้

  1. ที่ Tab Components จะต้องมีข้อมูลส่วนประกอบต่างๆตรงกับที่ยื่นกับกรมศุลกากร

  2. ที่ Tab Work Order ค่าของ Real Duration จะต้องเท่ากับ Expected Duration เสมอ

กรณีที่ต้องการเพิ่ม Sale Lot Number ที่ VIN Number

ในการทำงานจริงเราอาจจะทราบข้อมูลของ Sale Lot Number หลังจากที่สร้าง VIN Number เรียบร้อยแล้ว ทำให้ต้องมาแก้ไขข้อมูล Sale Lot Number ที่ VIN Number ในภายหลัง ซึ่งในระบบสามารถทำได้ ดังนี้

  1. สร้าง Sale Lot Number (สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ สร้าง Sale Lot Number)
  2. แก้ไขข้อมูล Sale Lot Number ที่ VIN Number (สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ การแก้ไข Lot/Serial Number/VIN Number)

End.


การคืนวัตถุดิบ (Return from Manufacturing)

การคืนวัตถุดิบ (Return from Manufacturing) ใช้สำหรับกรณีที่มีการใช้วัตถุดิบจริงน้อยกว่า BoM บนระบบ Odoo (Actual < BoM)

Menu :: Inventory Requests > Overview

  1. คลิกเลือกกล่องที่เป็น Return from Manufacturing

  2. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างเอกสาร

  3. กรอกข้อมูลต่างๆ ดังนี้

    1. ข้อมูลส่วน Header (ส่วนบนเอกสาร)

      • (1) Receive From: ชื่อคนสร้างเอกสาร (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (2) Operation Type: ประเภทการดำเนินการ (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (3) Destination Location: Location ปลายทาง (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (4) Analytic Account: Project
      • (5) Verified By: ชื่อคนตรวจสอบ ในกรณีนี้จะเป็นคนเดียวกันกับคนสร้างเอกสาร (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (6) Validated By: ชื่อคนยืนยันการคืนวัตถุดิบ ในกรณีนี้จะเป็นคนเดียวกันกับคนสร้างเอกสาร (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (7) Scheduled Date: วันที่ต้องการคืนวัตถุดิบ
      • (8) Source Document: เลขที่เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)
      • (9) Exceptions: ข้อยกเว้นในการดำเนินการ (ไม่สามารถแก้ไขได้)

    2. Tab Operations

      • กด Add a line เพื่อเพิ่มรายการที่ต้องการจะคืน

      • (1) Product: วัตถุดิบที่ต้องการคืน
      • (2) Analytic Account: Financial Dimension (project)
      • (3) Analytic Tags: Financial Dimension (product line และ BOI)
      • (4) Description: คำอธิบายรายการ (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (5) Demand: จำนวนที่ต้องการคืน
      • (6) Unit of Measure: หน่วยนับ (ไม่สามารถแก้ไขได้)

    3. Tab Additional Info

      • (1) Responsible: เลือกรายชื่อผู้รับผิดชอบ

    4. Tab Note จะใช้ในการจดบันทึก หรือเขียนคำอธิบายเพิ่มเติม

  4. เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กด Save เพื่อบันทึกข้อมูล แต่ถ้าไม่ต้องการบันทึกให้กดปุ่ม Discard

  5. ตรวจสอบข้อมูลใบคืนวัตถุดิบ ถ้ายังไม่ถูกต้องให้กดปุ่ม Edit แล้วแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องหลังจากนั้นกด Save แต่ถ้าถูกต้องแล้วให้กด Mark as Todo เพื่อยืนยันใบคืนวัตถุดิบ

  6. ระบบจะเปลี่ยนสถานะใบคืนวัตถุดิบ Draft เป็น Ready หลังจากนั้นให้กดปุ่ม Verify เพื่อยืนยันว่าได้ทำการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

  7. ระบบจะบันทึกว่าเอกสารได้ถูก Verified แล้ว และบันทึกวันที่ทำการตรวจสอบ (Verify Date) หลังจากนั้นให้กดปุ่ม Validate เพื่อยืนยันการคืนวัตถุดิบกลับเข้าคลัง

    • หากกดปุ่ม Validate โดยที่ยังไม่ได้ใส่ข้อมูลจำนวนสินค้าที่จะส่งตรงคอลัมน์ Done ระบบจะแสดงหน้าต่างด้านล่างเพื่อให้ผู้ใช้งานยืนยันว่าจะทำการส่งสินค้าทั้งหมดตามจำนวนในคำสั่งขาย ใช่หรือไม่
    • ถ้าใช่กดปุ่ม Apply ถ้าไม่ใช่กดปุ่ม Cancel แล้วใส่ข้อมูลจำนวนสินค้าที่ต้องการส่งตรงคอลัมน์ Done

  8. ระบบจะเปลี่ยนสถานะใบคืนวัตถุดิบ Ready เป็น Done และบันทึกรับวัตถุดิบกลับเข้าคลัง

การยกเลิกใบคืนวัตถุดิบ

การยกเลิกใบคืนวัตถุดิบสามารถทำได้ ก่อนที่เอกสารจะมีสถานะเป็น Done โดยสามารถทำได้โดยการกดปุ่ม Cancel ซึ่งจะทำให้สถานะของเอกสารกลายเป็น Cancelled

การคืนวัตถุดิบย้อนหลัง

การคืนวัตถุดิบย้อนหลัง สามารถทำได้ก็ต่อเมื่อเอกสารมีสถานะเป็น Ready มีวิธีการ ดังนี้

  1. กดปุ่ม Fill Actual Movement Date

  2. ระบบจะแสดงหน้าต่างให้กรอกข้อมูลวันที่ทำรายการจริง (Actual Movement Date) เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม Apply เพื่อบันทึกข้อมูล แต่ถ้าไม่ต้องการทำต่อแล้วให้กดปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิก

  3. ระบบจะบันทึกข้อมูลวันที่ทำรายการจริงไว้ที่ Forced Effective Date เมื่อเรายืนยันการคืนวัตถุดิบกลับเข้าคลัง ระบบจะบันทึกรับวัตถุดิบกลับเข้าคลังย้อนหลังตามวันที่ Forced Effective Date

End.


การเบิกวัตถุดิบ (Request to Manufacturing)

การเบิกวัตถุดิบ (Request to Manufacturing) ใช้สำหรับกรณีที่มีการใช้วัตถุดิบจริงมากกว่า BoM บนระบบ Odoo (Actual > BoM)

Menu :: Inventory Requests > Overview

  1. คลิกเลือกกล่องที่เป็น Request to Manufacturing

  2. คลิกปุ่ม Create เพื่อสร้างเอกสาร

  3. กรอกข้อมูลต่างๆ ดังนี้

    1. ข้อมูลส่วน Header (ส่วนบนเอกสาร)

      • (1) Receive From: ชื่อคนสร้างเอกสาร (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (2) Operation Type: ประเภทการดำเนินการ (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (3) Source Location: Location ต้นทาง
      • (4) Analytic Account: Project
      • (5) Verified By: ชื่อคนตรวจสอบ ในกรณีนี้จะเป็นคนเดียวกันกับคนสร้างเอกสาร (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (6) Validated By: ชื่อคนยืนยันการเบิกวัตถุดิบ ในกรณีนี้จะเป็นคนเดียวกันกับคนสร้างเอกสาร (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (7) Scheduled Date: วันที่ต้องการเบิกวัตถุดิบ
      • (8) Source Document: เลขที่เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)
      • (9) Exceptions: ข้อยกเว้นในการดำเนินการ (ไม่สามารถแก้ไขได้)

    2. Tab Operations

      • กด Add a line เพื่อเพิ่มรายการที่ต้องการจะเบิกเพิ่ม

      • (1) Product: วัตถุดิบที่ต้องการเบิกเพิ่ม
      • (2) Analytic Account: Financial Dimension (project)
      • (3) Analytic Tags: Financial Dimension (product line และ BOI)
      • (4) Description: คำอธิบายรายการ (ไม่สามารถแก้ไขได้)
      • (5) Demand: จำนวนที่ต้องการเบิกเพิ่ม
      • (6) Unit of Measure: หน่วยนับ (ไม่สามารถแก้ไขได้)

    3. Tab Additional Info

      • (1) Shipping Policy: เงื่อนไขการย้ายวัตถุดิบ
        • As soon as possible: เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (ไม่ต้องรอวัตถุดิบครบ)
        • When all products are ready: เมื่อวัตถุดิบทุกอย่างครบแล้ว
      • (2) Responsible: เลือกรายชื่อผู้รับผิดชอบ

    4. Tab Note จะใช้ในการจดบันทึก หรือเขียนคำอธิบายเพิ่มเติม

  4. เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กด Save เพื่อบันทึกข้อมูล แต่ถ้าไม่ต้องการบันทึกให้กดปุ่ม Discard

  5. ตรวจสอบข้อมูลใบเบิกวัตถุดิบ ถ้ายังไม่ถูกต้องให้กดปุ่ม Edit แล้วแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องหลังจากนั้นกด Save แต่ถ้าถูกต้องแล้วให้กด Mark as Todo เพื่อยืนยันใบเบิกวัตถุดิบ

  6. ระบบจะเปลี่ยนสถานะใบเบิกวัตถุดิบ Draft เป็น Ready หลังจากนั้นให้กดปุ่ม Verify เพื่อยืนยันว่าได้ทำการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

  7. ระบบจะบันทึกว่าเอกสารได้ถูก Verified แล้ว และบันทึกวันที่ทำการตรวจสอบ (Verify Date) หลังจากนั้นให้กดปุ่ม Validate เพื่อยืนยันการเบิกวัตถุดิบกลับเข้าคลัง

    • หากกดปุ่ม Validate โดยที่ยังไม่ได้ใส่ข้อมูลจำนวนสินค้าที่จะส่งตรงคอลัมน์ Done ระบบจะแสดงหน้าต่างด้านล่างเพื่อให้ผู้ใช้งานยืนยันว่าจะทำการส่งสินค้าทั้งหมดตามจำนวนในคำสั่งขาย ใช่หรือไม่
    • ถ้าใช่กดปุ่ม Apply ถ้าไม่ใช่กดปุ่ม Cancel แล้วใส่ข้อมูลจำนวนสินค้าที่ต้องการส่งตรงคอลัมน์ Done

  8. ระบบจะเปลี่ยนสถานะใบเบิกวัตถุดิบ Ready เป็น Done และบันทึกรับวัตถุดิบกลับเข้าคลัง

การยกเลิกใบเบิกวัตถุดิบ

การยกเลิกใบเบิกวัตถุดิบสามารถทำได้ ก่อนที่เอกสารจะมีสถานะเป็น Done โดยสามารถทำได้โดยการกดปุ่ม Cancel ซึ่งจะทำให้สถานะของเอกสารกลายเป็น Cancelled

การเบิกวัตถุดิบย้อนหลัง

การเบิกวัตถุดิบย้อนหลัง สามารถทำได้ก็ต่อเมื่อเอกสารมีสถานะเป็น Ready มีวิธีการ ดังนี้

  1. กดปุ่ม Fill Actual Movement Date

  2. ระบบจะแสดงหน้าต่างให้กรอกข้อมูลวันที่ทำรายการจริง (Actual Movement Date) เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม Apply เพื่อบันทึกข้อมูล แต่ถ้าไม่ต้องการทำต่อแล้วให้กดปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิก

  3. ระบบจะบันทึกข้อมูลวันที่ทำรายการจริงไว้ที่ Forced Effective Date เมื่อเรายืนยันการเบิกวัตถุดิบกลับเข้าคลัง ระบบจะบันทึกรับวัตถุดิบกลับเข้าคลังย้อนหลังตามวันที่ Forced Effective Date

End.