การบันทึกบัญชีตั้งหนี้ลูกหนี้
เมื่อพนักงานขายต้องการบันทึกตั้งลูกหนี้และวางบิลให้ลูกค้า (ออก Customer Invoices) สามารถดำเนินการได้ดังนี้
Menu: Sales > Orders > Orders
-
ค้นหาเอกสารและเลือกรายการที่ต้องการบันทึกบัญชีตั้งลูกหนี้
- (1) เอกสารคำสั่งซื้อที่ส่งของให้ลูกค้าแล้วรอบันทึกบัญชีตั้งลูกหนี้จะอยู่ใน state To Invoice
- (2) เอกสารคำสั่งซื้อที่บันทึกบัญชีและวางบิลลูกค้าเรียบร้อยแล้วจะอยู่ใน state Fully Invoiced
- (3) เอกสารที่ยังไม่ได้ส่งของให้ลูกค้าจะอยู่ใน state Nothing to Invoice
-
กดเข้าไปในเอกสารที่อยู่ใน state To Invoice แล้วกดปุ่ม Create Invoice
-
ระบบจะแสดงหน้าต่างให้เลือกวิธีการออกใบแจ้งหนี้ให้ลูกค้า (Customer Invoice)
- (1) Regular invoice: ออกใบแจ้งหนี้ทั้งจำนวน
- (2) Down Payment (percentage): ออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินบางส่วน โดยคำนวณตาม %
- (3) Down Payment (fixed amount): ออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินบางส่วน โดยกรอกจำนวนที่ต้องการ
- (4) Create and View Invoice เพื่อสร้างเอกสาร Customer Invoice ฉบับร่างและเรียกดูหน้าเอกสาร
-
หลังจากสร้างเอกสารใบแจ้งหนี้ (Customer Invoices) แล้วกลับมาที่เอกสาร Sales Orders บริเวณ Smart Button จะแสดงสัญลักษณ์ของ Invoice ขึ้นมา ซึ่งสามารถกดเพื่อเข้าไปดูเอกสารใบแจ้งหนี้จากช่องทางนี้ได้
-
เมื่อเข้าไปที่หน้าเอกสาร Customer Invoice เอกสารจะอยู่ใน state Draft กดปุ่ม Edit
-
ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล เพื่อออกใบแจ้งหนี้และบันทึกบัญชีตั้งลูกหนี้
- (1) Customer: ชื่อลูกค้า
- (2) Payment Reference: สำหรับใส่หมายเลขอ้างอิงการชำระเงิน
- (3) Invoice Date: เลือกวันที่ออกใบวางบิลลูกค้า
- (4) Due Date: วันครบกำหนดชำระเงิน
- (5) Journal: เลือก Jornal ที่ต้องการบันทึกบัญชี
- (6) Branch: สาขา
-
Tab Invoice Lines
- (1) Account: บัญชีที่ใช้บันทึกบัญชี
- (2) Analytic Account: Financial Dimension (Project)
- (3) Analytic Tags: Financial Dimension (Product Line และ BOI)
- (4) Price: ราคาต่อหน่วย
- (5) Discount: ส่วนลด
- (6) Taxes: ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- (7) WHT: ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- (8) Untaxed Amount: ยอดเงินก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- (9) VAT 7%: ยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม
- (10) Total: ยอดรวมทั้งหมด
- Tab Other Info
- (1) Customer Reference: สามารถใส่หมายเลขเอกสารอ้างอิงของลูกค้าได้
-
-
กดปุ่ม Save เพื่อบันทึกข้อมูลและตรวจสอบอีกครั้ง
-
กดปุ่ม Confirm เพื่อยืนยันการบันทึกบัญชี state ของเอกสารจะเปลี่ยนเป็น Posted
-
ตรวจสอบข้อมูลการบันทึกบัญชีที่ Tab Journal items
-
สามารถเลือกพิมพ์เอกสารที่ต้องการได้ที่เมนู Print ด้านล่าง
กรณีมีการจ่ายเงินมัดจำสินค้า (Down Payment)
เมื่อมีการตกลงกันให้ลูกค้าจ่ายเงินมัดจำบางส่วนก่อนจัดส่งสินค้า พนักงานขายจะต้องดำเนินการตามวิธีด้านล่าง
-
เข้าไปที่เอกสาร Sales Order ที่มีการวางเงินมัดจำก่อนจัดส่งสินค้า แล้วกดที่ปุ่ม Create Invoice เพื่อสร้างเอกสารเงินมัดจำ
-
ระบบจะแสดงหน้าต่างเหมือนตอนสร้างเอกสารใบวางบิลลูกค้า เลือกกรอกช่อง Down Payment โดยสามารถเลือกกรอกได้ทั้ง 2 แบบ
- (1) percentage: คำนวณเป็น %
- (2) fixed amount: จำนวนเงิน
- (3) จากนั้นกดปุ่ม Create and View Invoice
-
ระบบจะแสดงเอกสารบันทึกบัญชีเงินมัดจำที่อยู่ใน state Draft ตรวจสอบความถูกต้องแล้วกดบันทึกบัญชี (Confirm) จากนั้นส่งข้อมูลต่อให้ฝ่ายการเงินบันทึกรับชำระค่าเงินมัดจำเมื่อลูกค้าได้ชำระแล้ว
-
เมื่อกลับมาที่หน้าต่างเอกสาร Sales Order จะพบว่าที่บริเวณ Product Line จะมีบรรทัดของเงินมัดจำ (Down Payment) แสดงเพิ่มขึ้นมา
การบันทึกล้างเงินมัดจำ
Info
เมื่อทำการจัดส่งของบางส่วนและต้องการบันทึก ล้างเงินมัดจำบางส่วน สามารถดำเนินการได้ ตามด้านล่าง
-
เข้าไปที่เอกสาร Sales Order ที่มีการวางเงินมัดจำก่อนจัดส่งสินค้า แล้วกดที่ปุ่ม Create Invoice
-
ระบบจะแสดงตามด้านล่าง
- (1) Fully Clear: ต้องการบันทึกล้างเงินมัดจำเต็มจำนวน
- (2) Propotional Clear: ต้องการบันทึกล้างเงินมัดจำตามสัดส่วนการรับของ
- (3) No Clear: ไม่ต้องการบันทึกล้างเงินมัดจำ
- (4) เลือกแล้วกด Create and View Invoice
-
เลือกเอกสาร Invoice ที่ระบบสร้างขึ้นมาสถานะ Draft แล้วระบบจะพาไปยังหน้าต่าง ด้านล่าง จะเห็นได้ว่าระบบบันทึกล้างเงินมัดจำที่รับมาแล้วตามสัดส่วนของของที่รับเข้ามา ในกรณีด้านล่าง ขายของ 10 ชิ้น จัดส่งของไป 2 ชิ้น ระบบบันทึกตั้งลูกหนี้และทยอยล้างเงินมัดจำของสินค้า 2 ชิ้นที่จัดส่งออกไป
-
สามารถตรวจสอบข้อมูลการบันทึกบัญชีได้ที่ tab Journal Item และทำการ **Confirm ** เพื่อยืนยันการบันทึกบัญชีตั้งลูกหนี้
กรณีมีการลดหนี้และเพิ่มหนี้
กรณีลดหนี้ Credit Note
พนักงานขายมีวิธีการดำเนินการดังนี้
-
เข้าไปในเอกสาร Customer Invoice ที่ต้องการลดหนี้ แล้วกด Add Credit Note
-
ระบบจะแสดงหน้าต่างตามด้านล่าง
- (1) Partial Refund: ลดหนี้บางส่วน
- (2) Full Refund: ลดหนี้ั้ทั้งจำนวน
- (3) Full Refund and new draft invoice: ลดหนี้ทั้งจำนวนและสร้างใบแจ้งหนี้ใหม่
- (4) Reason:กรอกเหตุผลในการลดหนี้
- (5) Reversal Date:วันที่ต้องการกลับรายการ
- (6) Use Specific Journal: Journal ที่ต้องการใช้บันทึก
- (7) Refund Date: วันที่ต้องการลดหนี้
-
ตรวจสอบข้อมูลแล้วกด Reverse
-
ระบบจะแสดงหน้าต่างขึ้นมา สามารถแก้ไขได้ตามด้านล่าง
- (1) สำหรับกรณีที่เป็นการลดหนี้ของรถที่ขายออกไปที่ไม่ใช่การคืนรถ พนักงานขายจะต้องกรอกรายละเอียดเลข VIN motor และ Brand คันที่ต้องการลดหนี้ด้วยตัวเองที่ช่อง Label
- (2) แก้ไขจำนวนเงินที่ต้องการลดหนี้ในช่อง unit price
- (3) ลบข้อมูลในช่อง discount ออก (ถ้ามี)
-
ในกรณีที่มีเงินมัดจำ ทำการตรวจสอบว่าต้องการลดหนี้ในส่วนของเงินมัดจำด้วยหรือไม่ หากต้องการก็แก้ไขข้อมูลตรง unit price แต่ถ้าข้อมูลเงินมัดจำถูกต้องอยู่แล้วก็ สามารถกดปุ่มรูปถังขยะด้านขวาเพื่อลบบรรทัดเงินมัดจำออกได้
Note
กรณีลดหนี้ในเอกสาร customer invoice ที่มีการบันทึก ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT
-
ในกรณีที่มี VAT จะต้องทำการแก้ไขข้อมูล VAT ใน tab Tax Invoice เนื่องจากระบบจะดึงข้อมูลมาจาก customer invoice ที่มีการบันทึก VAT เอาไว้ จะไม่ได้ update เปลี่ยนตามการแก้ไขข้อมูลในหน้า credit note พนักงานขายจะต้องมาแก้ไขข้อมูลด้วยตัวเอง ตามวิธีดังนี้
- (1) เมื่อมีการกรอกข้อมูลที่ต้องการลดหนี้ ระบบจะแสดงข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องถูกลดลง
- (2) เมื่อมาที่ tab Tax Invoice ระบบจะแสดงข้อมูล VAT ตามที่บันทึกตอน ตั้งลูกหนี้ (Customer Invoice) ซึ่งไม่ update ตาม credit note
- (3) ต้องแก้ไขข้อมูล Tax Base และ Tax Amount ให้ถูกต้องตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องบันทึกลดลงตาม credit note
-
ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดแล้วกด Confirm
-
ระบบจะแสดงหน้าต่าง Credit Note และสามารถกด Add Outstanding Debit เพื่อให้ระบบหักหนี้จากยอดหนี้ที่บันทึกบัญชีใน customer invoice ตอนแรกได้
-
เมื่อกดแล้วกลับมาดูที่เอกสาร Customer Invoices ใบแรก ระบบจะแสดงแถบคาด partial เป็นการแสดงว่า Invoice ใบนี้มีการล้างหนี้ออกไปแล้วบางส่วน
กรณีเพิ่มหนี้ Dedit Note
พนักงานขายมีวิธีการดำเนินการดังนี้
-
เข้าไปในเอกสาร Customer Invoice ที่ต้องการเพิ่มหนี้ แล้วกด Add Dedit Note
-
ระบบจะแสดงหน้าต่างตามด้านล่าง
- (1) Use Specific Journal: เลือก Journal ที่ต้องการบันทึกเพิ่มหนี้
- (2) Copy Lines: ใส่เครื่องหมายถูกเพื่อให้ระบบดึงข้อมูลใน Line ของ Customer Invoice มาด้วย
- (3) Debit Note Date: วันที่ต้องการเพิ่มหนี้
- (4) Reason:กรอกเหตุผลในการเพิ่มหนี้
- (5) ตรวจสอบข้อมูลแล้วกด Create Debit Note
-
ระบบจะสร้างเอกสารตั้งหนี้เพิ่มให้ แก้ไขและตรวจสอบข้อมูลจากนั้นกด Confirm เพื่อยืนยันการตั้งหนี้เพิ่ม
-
ระบบจะแสดงหน้าต่างขึ้นมา สามารถแก้ไขได้ตามด้านล่าง
- (1) สำหรับกรณีที่เป็นการเพิ่มหนี้ของรถที่ขายออกไปที่ไม่ใช่การคืนรถ พนักงานขายจะต้องกรอกรายละเอียดเลข VIN motor และ Brand คันที่ต้องการลดหนี้ด้วยตัวเองที่ช่อง Label
- (2) แก้ไขจำนวนเงินที่ต้องการลดหนี้ในช่อง unit price
- (3) ลบข้อมูลในช่อง discount ออก (ถ้ามี)
-
ในกรณีที่มีเงินมัดจำ ทำการตรวจสอบว่าต้องการเพิ่มหนี้ในส่วนของเงินมัดจำด้วยหรือไม่ หากต้องการก็แก้ไขข้อมูลตรง unit price แต่ถ้าข้อมูลเงินมัดจำถูกต้องอยู่แล้วก็ สามารถกดปุ่มรูปถังขยะด้านขวาเพื่อลบบรรทัดเงินมัดจำออกได้
Note
กรณีเพิ่มหนี้ในเอกสาร customer invoice ที่มีการบันทึก ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT
-
ในกรณีที่มี VAT จะต้องทำการแก้ไขข้อมูล VAT ใน tab Tax Invoice เนื่องจากระบบจะดึงข้อมูลมาจาก customer invoice ที่มีการบันทึก VAT เอาไว้ จะไม่ได้ update เปลี่ยนตามการแก้ไขข้อมูลในหน้า debit note พนักงานขายจะต้องมาแก้ไขข้อมูลด้วยตัวเอง ตามวิธีดังนี้
- (1) เมื่อมีการกรอกข้อมูลที่ต้องการเพิ่มหนี้ ระบบจะแสดงข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องถูกเพิ่มขึ้น
- (2) เมื่อมาที่ tab Tax Invoice ระบบจะแสดงข้อมูล VAT ตามที่บันทึกตอน ตั้งลูกหนี้ (Customer Invoice) ซึ่งไม่ update ตาม dedit note
- (3) ต้องแก้ไขข้อมูล Tax Base และ Tax Amount ให้ถูกต้องตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องบันทึกเพิ่มขึ้นตาม debit note
End.